รีวิว Rookie Historian Goo Hae-Ryung
เรื่องราวเกิดขึ้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 คูแฮรยองเป็นนักประวัติศาสตร์หญิง ในช่วงเวลานั้นสตรีเขียนประวัติศาสตร์ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากแนวคิดของขงจื๊อที่หยั่งรากลึกในโชซอน เธอพยายามก้าวผ่านความไม่เท่าเทียมจุดนี้ไปให้ได้ เธอต้องการเป็น นักประวัติศาสตร์อย่างที่เธอฝันและทำให้โลกรู้ว่าทุกคนล้วนเท่าเทียมกัน จึงได้เข้าไปพัวพันกับองค์ชายอีริม ผู้เก็บซ่อนความลับของตัวเองเอาไว้ ดูหนังฟรี
Rookie Historian Goo Hae-ryung กูแฮรยอง นารีจารึกโลก ชื่อเรื่องฟังดูเครียด แต่การดำเนินเรื่องนั้นค่อนข้างเบาสมอง สดใส หวานแหววเลยทีเดียวสำหรับซีรีส์ย้อนยุคสมัยโชซอน ตอนแรกเปิดเรื่องมาไม่น่าติดตามเท่าไหร่ แต่ ๆ ๆ ๆ ดูไปเรื่อย ๆ เฮ้ย สนุก! ติดจนหยุดไม่ได้ และอยากดูต่อจนจะลงแดงแล้ววว บทหวานๆ ก็มีให้กระชุ่มกระชวยขึ้นเรื่อย ๆ โอย ใจบาง
เนื้อเรื่องมีอยู่ว่า พระเอกคือเจ้าชายโดวอนอีริม เจ้าชายที่ไม่มีใครสนใจ ถูกกักบริเวณไว้ไนตำหนัก ไม่มีใครรู้จัก ไม่มีใครใส่ใจ ต่อสู้ไม่เป็น ซึ่งเหมือนจะมีปมอะไรซักอย่าง แต่พี่ชายที่เป็นองค์รัชทายาทดูจะเอ็นดูเป็นพิเศษ องค์รัชทายาทก็เก่ง ฉลาด ดูดี
เหลือเกิน (นี่แอบหวังให้องค์รัชทายาทหลงรักนางเอกอีกคน แต่ต้องมาลุ้นกัน) พระเอกแอบเขียนนิยายรักโรแมนติกขายให้คนอ่านติดใจ จนขายดีเป็นเทน้ำเทท่า ในขณะที่นางเอกเป็นคนอ่านหนังสือเยอะ ฉลาด เก่ง แต่วิจารณ์นิยายพระเอกเละเทะว่า
เป็นเรื่องน้ำเน่าไร้สาระ เลยเป็นศัตรูกันตั้งแต่เริ่มเรื่อง นางเอกเป็นพวกหัวตะวันตก ไม่ยอมแต่งงาน โชคดีที่สอบเป็นอาลักษณ์หญิงได้ เข้ารับราชการในวัง แต่กลับถูกคนทั้งวังดูถูก เพราะเป็นผู้หญิง ในสมัยก่อนผู้หญิงต้องอยู่ในครัว เย็บปักถักร้อย ดูแล
บ้านช่องกันไป จึงถูกพวกผู้ชายกลั่นแกล้ง ดูแคลน เหยียดสารพัด ซึ่งพระเอกจะเข้ามาช่วยนางเอกยังไง หรือนางเอกจะช่วยพระเอกยังไง ต้องมาดูกัน ลุ้นกันต่อไปเคยสังเกตมั้ยคะว่านางเอกซีรีส์พีเรียดเกาหลียุคโชซอน เค้าปลอมตัวเป็นชายเพื่อจุดประสงค์ใดบ้าง คิมยุนฮี นางเอก Sungkyunkwan Scandal ปลอมเป็นชายเพื่อเข้าศึกษาโรงเรียนขงจื๊อ , ฮงราอน นางเอก Moonlight Drawn by Clouds
ปลอมเป็นขันทีเพื่อรับใช้องค์รัชทายาท หรือแม้แต่ จิตรกร “ชินยุนบก” เจ้าของภาพวาด “มีอินโด” (โมนาลิซ่าแห่งเกาหลี) ที่มีตัวตนจริงๆ ในประวัติศาสตร์ ก็ยังไม่วายถูกเม้าท์มอยว่า เป็นผู้หญิงปลอมตัวมา นี่ยังไม่รวมถึงการปลอมตัวเป็นชายเล็กๆ น้อยๆ ประเภท ไปซื้อของที่ตลาด ไปเล่นพนันในบ่อน ฯลฯ
ดูเผินๆ ก็เป็นสีสันที่น่ารักดี แต่มองจากต้นตอแล้ว เป็นเพราะแนวคิดขงจื๊อใหม่ (Neo Confucianism) ที่กดทับให้ผู้หญิงมีบทบาทในสังคมน้อยมากๆ แล้วสังเกตมั้ยคะว่า ผู้หญิงเกาหลีแต่งงานแล้วไม่เปลี่ยนนามสกุลตามสามี ต่างจากประเทศอื่นที่
ยึดระบอบชายเป็นใหญ่ (Patriarchy) เหมือนกัน แต่ผู้หญิงใช้นามสกุลสามีเพื่อเป็นสัญลักษณ์ว่า ได้เข้ามาเป็น “สมบัติ” ของครอบครัว แต่แนวคิดขงจื๊อใหม่นั้น ผู้หญิงไม่มีค่าแม้แต่จะเป็น “สมบัติ” ผู้หญิงจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อ พวกเธอได้แต่งงานออก
เรือน เป็นภรรยาที่อยู่ในโอวาทสามี และให้กำเนิดบุตรชายที่ประสบความสำเร็จ หากบกพร่องในหน้าที่ดังกล่าว ต่อให้ฉลาดเก่งกาจเพียงใด ก็ไม่นับว่าพวกนางเป็นบุคคลที่มี “คุณค่า” ซึ่งนั่นแหละค่ะ บท “นางเอกปลอมตัวเป็นชาย” ถูกสร้างมาเพื่อให้พวกเธอได้เข้าไปปฏิบัติภารกิจที่ “มิใช่ธุระของสตรี” ส่วนสตรีชั้นสูงยุคโชซอนจริง ๆนะรึ? แค่เดินออกจากบ้านก็ต้องใช้ผ้า ชังอด คลุมตั้งแต่หัวจรดเท้า เนื่องจากไม่ควรเปิดเผยร่างกายส่วนใด ๆ ในที่สาธารณะ
แม้จะรู้ในวงกว้างว่า เกาหลีใต้ในปัจจุบัน ก็ยังเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ แต่จากแคมเปญต่อต้านการคุกคามสตรี Me Too หรือผ่านร่างกฎหมายทำแท้งเสรี ก็นับเป็นนิมิตหมายอันดีว่าเกาหลีเริ่มจะเปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงได้มีที่ยืนบ้างแล้ว ผู้หญิงเกาหลีหลาย
คน ได้ทำงานตำแหน่งสูงๆ เช่นเดียวกันกับวงการซีรีส์ค่ะ เทรนด์ “ผู้หญิงในซีรีส์พีเรียด” เปลี่ยนจากนางสนมตบตีกัน หรือชีวิตรักรันทดต่างชนชั้น ที่เคยฮิตมากๆ เมื่อ 20-60 ปีก่อน แล้วเพิ่มบทบาท “สตรีในวังที่ทำงานมีคุณค่า” ให้เห็นบ่อยขึ้น เปิดศักราช
เนื้อเรื่องหนัง รีวิว Rookie Historian Goo Hae-Ryung
ด้วย “แดจังกึม” หมอหญิงที่เก่งทั้งปรุงยาและงานครัว , “ทงอี” จากประวัติสั้นๆ ที่ว่านางคือสนมที่ไต่เต้ามาจากหญิงหาบน้ำ ก็เพิ่มสีสันให้เป็นสาวฉลาด เชี่ยวชาญด้านสืบจากศพ หรือจะเป็น “จองอี” เทพธิดาแห่งเครื่องเผาเซรามิก เห็นมั้ยคะว่าพวกเธอ
ต่างมีที่ยืนที่ “แตกต่าง” จากผู้หญิงในวังคนอื่นๆ ที่ทำงานสนองเบื้องพระยุคลบาท เป็นต้นว่า นางในฝ่ายบริการ นางในฝ่ายห้องเครื่อง นางในถวายตัว (พูดแบบศัพท์สมัยใหม่ก็คือ พวกเธอทำงาน N มีตั้งแต่เลเวล N ธรรมดา เรื่อยไปจนถึง N VIP) นอกจากมีหน้าที่บริการ นางในทุกคนต้องตาบอด ดูหนังใหม่
หูหนวก เป็นใบ้ ความจำสั้น สิ่งใดที่รู้ที่เห็นในวัง ต้องลืมเสียให้หมด แต่ก็นั่นแหละค่ะ เอาเข้าจริงก็จำเป็นต้องมีหมอหญิงแบบแดจังกึม เพราะหมอผู้ชายไม่สามารถแตะเนื้อต้องตัว “ผู้หญิงของพระราชา” ได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตรวจร่างกายนักโทษประหารหญิง หากพบว่าพวกเธอตั้งครรภ์ ต้องชะลอการประหาร
ออกไป , จำเป็นต้องมีหน่วยสืบสวนหญิงแบบทงอี เพราะเจ้าหน้าที่ชายไม่อาจเข้ามาในส่วนพระราชฐานชั้นในได้ สุดท้ายวังก็รับผู้หญิงเหล่านี้มาทำงานเพราะ “จำเป็นต้องใช้ผู้หญิง” จริงๆ แต่งานอะไรในวังที่ผู้ชายทำได้ ผู้หญิงไม่มีวันได้เข้ามาทำหรอก
เล่ามาเสียยาว เพราะจะเข้าเรื่องว่า ซีรีส์เรื่องนี้ นางเอกของเรารับบทเป็น “อาลักษณ์หลวง” ในวังโชซอนค่ะ ในยุคสมัยที่การเรียนหนังสือในสตรีเป็นเรื่องต้องห้าม งานเขียนของผู้หญิงเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ การที่ผู้หญิงสักคนจะเข้ามาเป็นอาลักษณ์หลวง จดบันทึกเรื่องราวในวัง เป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาทีเดียว
สรุปเนื้อเรื่องหนังเรื่องนี้ รีวิว Rookie Historian Goo Hae-Ryung
Rookie Historian Goo Hae Ryung คือเรื่องราวของ กูแฮรยอง สาว(ไม่)น้อย วัย 26 ปี ผู้หญิงโชซอนอายุเท่านี้ยังไม่แต่งงาน ถือว่าเทื้อคาเรือนนะคะ เธออาศัยอยู่กับพี่ชายที่รับราชการ และเป็นหนอนหนังสือตัวยง โดยเฉพาะหนังสือแปลเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์จากฝั่งยุโรป แถมยังรับจ๊อบเป็นนักอ่านนิยาย เป็นที่ถูกอกถูกใจของชาวบ้าน (อาชีพอ่านนิยายนี้มีจริงๆ ค่ะ เรียกว่า “พันโซรี” ) แม้พี่ชายดูจะไม่เร่งรัดให้น้องสาวแต่งงาน สุดท้ายพิธีวิวาห์ก็เกิดขึ้นเพื่อลบเสียงครหาจากฝั่งชาวบ้าน แต่กูแฮรยองกลับหนีพิธีแต่งงานไปสอบเป็นอาลักษณ์หลวง รีวิวหนัง
มาที่พระเอกบ้าง ตามปกติถ้าดูซีรีส์พีเรียดที่มีบทเจ้าชาย สังเกตว่าจะเป็นรัชทายาททั้งนั้น นั่นก็เพราะผู้ชายที่สามารถผ่านเข้าพระราชฐานชั้นในได้ (ถ้าไม่นับขันที) ก็มีแค่ พระราชาและรัชทายาทเท่านั้นค่ะ ส่วนเจ้าชายองค์อื่นๆ เมื่ออายุสัก 10 ขวบต้น ๆ
ก็จะแต่งงานแล้วย้ายออกไปอยู่นอกวัง เพื่อป้องกันการแก่งแย่งชิงบัลลังก์กับรัชทายาทนั่นเอง แต่พระเอกของเรา องค์ชายอีริม โดวอน นั้นทรงเป็น “เจ้าชายเฉยๆ” แถมยังอาศัยอยู่ในวังไม่ได้แต่งงาน จนอายุ 20 ปี (แน่นอนว่ามีเหตุผลอยู่ในท้องเรื่อง) องค์
ชายโดวอนถูกปล่อยให้อยู่ห่างๆ อย่างเปลี่ยวๆ ที่ตำหนักท้ายวังนามว่า “นกซอดัง” นอกจากทีมพระพี่เลี้ยง ก็แทบไม่มีใครในวังรู้ว่าพระพักตร์ที่แท้ของพระองค์ องค์ชายโดวอนก็เป็นหนอนหนังสือเช่นกันค่ะ แต่ฮีนิยมอ่านนิยายรักๆใคร่ๆ เป็นหลัก ไม่พอยัง แอบเขียนนิยายรัก นามปากกา “แมฮวา” (ดอกบ๊วย) เป็น Best Seller ไปทั่วกรุงฮันยาง (เมืองหลวงโชซอน = กรุงโซลในปัจจุบัน) ใครๆก็ชอบงานเขียนของแมฮวา ยกเว้นกูแฮรยอง ที่บอกว่านิยายไร้สาระ