รีวิว Dew ดิว ไปด้วยกันนะ (2019)

ณ ปางน้อยในปี 1997 ดิว (โอม-ภวัต) เด็กใหม่ที่เพิ่งย้ายโรงเรียนมาจากเชียงใหม่ได้พบและก่อความสัมพันธ์กับ ภพ (นนท์-ศดานนท์)เด็กหนุ่มลูกครึ่งจีนในพื้นที่ แต่ด้วยยุคสมัยที่ยังต่อต้านความรักระหว่างเพศเดียวกันก็ทำให้ทั้งคู่ต้องพรากจากกันจนกระทั่ง 23 ปีต่อมา ภพ (เวียร์ ศุกลวัฒน์) ได้หวนกลับมาเป็นครูยังปางน้อยอีกครั้งโดยมี อร (ญารินดา บุนนาค)ภรรยาของเขาติดตามมาด้วย แต่ในใจเขาก็ยังคงอยากตามหาดิวเพื่อสะสางเรื่องราวที่ติดค้างกันในอดีต ส่วนที่โรงเรียน ภพ ก็ได้มีโอกาส ดูหนังฟรี

รีวิว Dew ดิว ไปด้วยกันนะ (2019)

พบกับ หลิว (ปั๋น-ดริสา) เด็กสาวหัวดีแต่ดื้อที่ครูใหญ่ฝากให้ดูแล แต่แล้วความใกล้ชิดระหว่าง ภพ กับ หลิว ก็ทำให้เกิดข้อครหาขึ้นก่อนอื่นต้องบอกก่อนนะครับว่า เนื้อหาต่อไปนี้พยายามจะเขียนไม่ให้สปอยล์ที่สุด แต่สำหรับใครที่เคยผ่านตาผลงานต้นฉบับของเกาหลีอย่าง Bungee Jumping of Their Own  หนังโรแมนติกปี 2001 ที่ขึ้นชื่อเรื่องสร้างความ

เหวอแตกระดับหลายริกเตอร์กับบทสรุปความสัมพันธ์ของคู่รักที่ถูกความตายพลัดพรากในครึ่งเรื่องแรกที่สร้างทั้งความซาบซึ้งและชวนฉงนกับฉากจบอันเป็นปริศนาที่ให้คนดูคิดเอาเองก็ย่อมพอจะเดาปลายทางที่ ดิว..ไปด้วยกันนะ จะเดินทางไปถึงได้ไม่

รีวิว Dew ดิว ไปด้วยกันนะ (2019)

ยากนัก แต่โดยส่วนตัวแล้ว แม้จะถูกระบุยี่ห้อว่าเป็นหนังรีเมก แต่กับ Bungee Jumping of Their Own ก็ถือเป็นโจทย์ยากระดับคณิตศาสตร์โอลิมปิกเลยทีเดียว ด้วยว่าหนังผสมผสานทั้งความแฟนตาซี ความเชื่อเรื่องเวียนว่ายตายเกิด ไปจนถึงความ

เลื่อนไหลทางเพศ ที่หนังต้นฉบับถ่ายทอดไว้ได้น่าประทับใจและชวนคิดจนถึงทุกวันนี้ แต่ในเมื่อมันมาอยู่ในมือของ มะเดี่ยว ชูเกียรติ ศักดิ์วีรกุล ที่เล่นยกเครื่องปั้นหน้าหนังและตัดสลับเหตุการณ์ตลอดจนเปลี่ยนรายละเอียดจนแทบเหมือนหนังคนละม้วนแล้วผสมผสานเรื่องราวบาดแผลในช่วงเวลาแห่งการเติบโตที่ตนถนัดลงไปก็ย่อมไม่อาจคาดหวังอะไรที่น้อยไปกว่าผลงานที่ท้าทายความคิดคนดูเหมือนผลงานที่ผ่านมา

รีวิว Dew ดิว ไปด้วยกันนะ (2019)

ความกล้าหาญแรกที่มะเดี่ยวเลือกตัดผ่ายกเครื่องบทหนังโดยหยิบยกจุดพีคที่คอหนังต้นฉบับซูฮกมาไว้ในครึ่งแรกแทน ซึ่งแน่นอนว่ามันต้องแลกกับการทิ้งเซอร์ไพร์สที่ Bungee Jumping of Their Own เคยมอบให้คนดู โดยหนังเปลี่ยนรายละเอียด

เรื่องย่อ รีวิว Dew ดิว ไปด้วยกันนะ (2019)

ความรักคู่พระนางต้นฉบับในวัยเรียนมหาวิทยาลัย กลายมาเป็น ดิว กับ ภพ วัยรุ่น ม.ปลายในโรงเรียนชนบทยุค 90 ที่เพลงอัลเธอเนทีฟอย่าง ก่อน ของโมเดิร์นด็อก หรือ ดีเกินไป ของ สไมล์ บัฟฟาโล  ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนทางเลือกใหม่ ๆ ดูหนังใหม่

ทั้งที่สังคมในสมัยนั้นยังใช้คำว่า เบี่ยงเบนทางเพศ และใช้กระบวนการทางทหารและแพทย์มาใช้บำบัดพฤติกรรมรักร่วมเพศอยู่เลย ซึ่งพอเข้าใจได้ว่าการเซ็ตสถานการณ์ภายใต้การควบคุมของทหารเอย การจำกัดกรอบเรื่องเพศเอย เป็นกลไกของบทหนัง

ที่พยายามบีบบังคับให้ตัวละครไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันได้ และแม้เราจะไม่สามารถหาหลักฐานมายืนยันได้ว่าการจำกัดกรอบโลกทัศน์เรื่องเพศในหนังเป็นความจริงสักกี่มากน้อย แต่ในทางกลับกันมันก็ให้ภาพสังคมไทยที่ไร้ประชาธิปไตย หมดสิทธิ์เลือกทางเดินชีวิตตัวเองโดยเฉพาะกับเพศทางเลือกอย่าง LGBTQ และกล่าวอย่างไม่เกินจริงบทหนังของมะเดี่ยวยังละเอียดลออด้วยรายละเอียดด้านชาติพันธุ์ ความเชื่อ ที่ถูกส่งต่อผ่านระบบครอบครัวของทั้ง ดิว และ ภพ ที่ช่วยทำให้เรื่องราวมี

มิติมากกว่าแค่เรื่อง เด็กผู้ชายสองคน มาจิ้นกันแบบผิวเผินและที่สำคัญประเด็นบาดแผลระหว่างทางเติบโตของวัยรุ่นที่มะเดี่ยวเคยปูไว้ตั้งแต่ รักแห่งสยาม เกรียนฟิกชัน หรือตอนแรกของ โฮม ความรัก ความสุข ความทรงจำ ก็ถูกนำมาเน้นย้ำผ่านเรื่องราวของดิว และ ภพจนสามารถเชื่อมต่อเป็นจักรวาลหนังวัยรุ่นของมะเดี่ยวได้อย่างไม่ขัดเขินเลยทีเดียว

แต่แน่นอนล่ะว่าพอผ่าตัด และเปลี่ยนองค์ประกอบบทหนังใหม่ความท้าทายของมะเดี่ยวคือ ครึ่งเรื่องหลังที่ต้องคิดว่าทำยังไงให้ยังคงเรื่องราวความสัมพันธ์ต้องห้ามแบบหนังเกาหลีต้นฉบับไว้ได้ ซึ่งต้องยอมรับนะครับว่าพอย้ายจุดพีคมาไว้ตอนต้น และ

ทำท่าเหมือนจะพูดเรื่องความหลากหลายทางเพศไว้ตั้งแต่ต้นเรื่อง แต่กลับถูกบังคับให้เดินจุดพลิกผันตามบทหนังต้นฉบับจนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้การพูดเรื่อง LGBTQ แผ่วบาง และ หมดพลังทั้งที่อุตส่าห์ปูไว้ตอนต้นเรื่องเสียน่าสนใจและหนัก

แน่นจนไม่อาจคาดหวังอะไรที่น้อยไปกว่าความดุเดือดได้ แต่เมื่อถึงครึ่งหลัง และ หนังจำต้องเดินไปในทางที่ถูกกำหนดเลยกลายเป็นพลังของหนังมันแผ่วตามไปด้วย และ แน่นอนอย่างที่บอกไปแล้วว่า ความเหวอแตก มันถูกยกไปกล่าวถึงในครึ่งเรื่องแรกแล้วเลยกลายเป็นว่าครึ่งหลัง

กับแนวทางที่หนังพยายามเดินไปให้เห็น “การซ้ำรอย” เพื่อนำไปสู่บทสรุปความรักของหัวใจดวงเดิมก็เลยดูไม่น่าเชื่อถือเท่าใดนัก ยังดีที่ได้การแสดงอันหนักแน่นของ เวียร์ ศุกลวัฒน์  ญารินดา บุญนาค และ ปั๋น-ดริสา มาโอบอุ้มเรื่องราวภายใต้การกำกับที่ยังคงแม่นยำของมะเดี่ยวก็คงพอจะยกประโยชน์ให้จำเลยได้อยู่บ้าง

ความน่าสนใจของหนัง รีวิว Dew ดิว ไปด้วยกันนะ (2019)

เช่นเคยที่หนังของมะเดี่ยวมักจะสร้างนักแสดงวัยรุ่นฝีมือฉกาจไว้ประดับวงการเสมอ สำหรับ ดิว..ไปด้วยกันนะ ก็ได้ นนท์-ศดานนท์ ที่เอาลุคแบดบอยมาทำให้ ภพ กลายเป็นหนุ่มในฝันของสาว ๆ ได้ไม่ยาก แถมบทดราม่าก็ยังแสดงได้ลื่นไหลทีเดียว รีวิวหนัง

รวมถึง ปั๋น ดริสา ที่บอกเลยว่างานเดบิวต์เรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรที่น้อยไปกว่าบททดสอบโหดหินเลย ทั้งต้องรับบทเด็กมัธยมปลายหัวดื้อที่รู้สึกแปลกแยกจนต้องคบกับผู้ชายถ่อย ๆ แถมเธอยังต้องแบกจุดพลิกผันของเรื่องราว และ ถ่ายทอดออกมาให้น่าเชื่อถือ

ที่สุด ซึ่งจากผลงานที่เห็นด้วยตาเปล่าแล้วก็ต้องบอกว่าเธอสอบผ่านได้อย่างสวยงาม และ ถือว่ามะเดี่ยว เคี่ยวกรำ และ เค้นเอาการแสดงที่ดีที่สุด ธรรมชาติที่สุดของเธอออกมาจนคนดูอดหลงรักเธอไม่ได้แน่นอน และ ไม่เพียงรุ่นเล็กเท่านั้นรุ่นใหญ่อย่าง

อาภาศิริ นิติพน ก็ไม่ให้เสียชื่อ แม่แห่งชาติ เพราะเธอสามารถถ่ายทอดบทแม่ของดิวได้ชวนใจสลายมาก ๆ ใครดูซีนสารภาพความในใจกับดิวแล้วไม่ร้องไห้ก็ถือว่าใจแข็งมาก ส่วน เวียร์ ศุกลวัฒน์ ก็สานต่อโอกาสในการพิสูจน์ฝีมือบนจอเงินถัดจากหนังมนิลา โดยเขาสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่ติดค้างในใจของ ภพ ที่เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีบาดแผลได้อย่างน่าชื่นชม

กล่าวอย่างเป็นกลางที่สุดแล้ว ดิว…ไปด้วยกันนะ ก็จัดเป็นงานหนังไทยคุณภาพในระดับที่น่าสนับสนุนนั่นแหละครับ เพียงแต่การต้องเดินตามร่องรอยของหนังต้นฉบับอาจทำให้หนังไม่สามารถพูดประเด็นหลักอย่างเสรีภาพของ LGBTQ ในไทยได้อย่าง

หนักแน่นเหมือนที่ปูไว้ตอนแรก แต่เหนืออื่นใดมันคือหนังที่ดูแล้วทำงานกับหัวใจที่สุดเรื่องหนึ่งของปี ตั้งแต่ต้นเรื่องยันหนังจบขึ้นต้นเอนด์เครดิตว่าอุทิศให้แก่ นพดล ขันรัตน์ ผู้ถ่ายทอดช็อตโดรนสวย ๆ สื่อความหมายอันลึกซึ้งให้หนังแต่ไม่มีโอกาสได้ชม

ผลงานในวันนี้เนื่องจากเขาเสียชีวิตไปเมื่อหลายเดือนก่อน ดังนั้นช็อตโดรนต่าง ๆ ในหนังจึงเป็นเหมือนของขวัญชิ้นสุดท้ายที่เขาได้มอบให้ผู้กำกับ และ คนรักของเขาแทนคำขอบคุณที่อยู่ข้างกันตลอดเวลาที่เจ็บป่วย และ คงไม่ผิดนักถ้าจะบอกว่ามันเป็นของขวัญที่งดงามที่สุดในโลก

ข้างบนคือสิ่งที่ผมชอบในหนังเรื่องนี้ แต่เอาจริงๆ นะหนังมีช่องโหว่เยอะมาก ผมว่าไม่มาสเตอร์พีซอย่างที่หวังเลย …หรือผมหวังมากไป? มาเริ่มกันที่ มีหลายฉากเลยที่ “น้องหลิว” หน้าเทามาก แบบลอยสุดๆ นี่ยังไม่คิดว่านางเป็นนักเรียน ม.4 ที่แต่งหน้าออกจะเข้มกว่า “พี่อร” เมียคนปัจจุบันของ “พี่ภพ” อีกนะ

เท่านั้นยังไม่พอ ยังมีอีกหลายซีนที่ไม่ควรจะมี การมีซีนเหล่านั้นเป็นต้นเหตุให้หนังพังมาก ผมไม่ค่อยอยากจะบอกหรอกเพราะกลัวว่ามันจะเป็นการสปอย แต่ที่แน่มี 2 ฉากที่ขัดใจสุดๆ และ ผมคิดว่าน่าจะพอบอกได้ คือฉากย้อนอดีตที่ดันทำให้เห็นว่า ภพ

พระเอกของเรามีกลับมาที่ปางน้อยหลังจากที่หนีออกจากไปประมาณปีกว่า ซึ่งต้นเรื่องดันทำให้เราคิดว่าหนีไป 23 ปีเลยแล้วค่อยกลับมาทีเดียว ฉากนี้แหละทำให้คิดเลยว่าแล้วยังไงต่อ? หลังจากกลับมาบ้านแล้วกลับไปกรุงเทพยังไง? ทำไม 23 ปีให้

หลังพี่ชายภพในปัจจุบันถึงทักว่า “ทำธุระกิจเจ๊งเลยกลับมาบ้านสินะ”? ทำไมห้องมันรกเหมือนไม่มีคนอยู่มานาน? (ไปดูแล้วจะรู้เอง ผมอธิบายมากจะไม่ดี) ฯลฯ คือฉากนี้มันต้องมีเพื่อบอกเรื่องราวบางอย่าง แต่เมื่อพี่มะเดียวเลือกจะให้เรื่องมันเป็นแบบนี้ควรจะใส่ฉากแบบอื่นที่ได้ผลลัพธ์เหมือนกันจะดีกว่า และ ฉากที่ 2 คือฉากจบที่ผมงงกับมันมากๆ แต่ตอนยู่ในโรงผมแอบคิดบวกว่า อืม..หนังเกาหลียุคนั้นมันก็ชอบจบแบบนี้แหละแล้วก็เดินออกจากโรงมา

แต่เพราะ 2 ฉากข้างบนนี้แหละที่ทำให้พอผมออกจากโรงมา ต้องรีบกลับมาหาเวอร์ชั่นเกาหลีมาดู… ว่าจริงไหมที่มันต้องจบแบบนี้ ซึ่งมันจะนำไปสู่ประเด็นต่อไป ที่เราจะดำดิ่งลงไปอีก ประเด็นต่อไปมีสปอยล์บอกไว้เลยครับ จะข้ามไปดูหนังในโรงก่อนแล้วค่อยกลับมาอ่านก็ได้นะครับ เตือนกันก่อน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *