รีวิว Tokyo Sonata วันที่หัวใจซ่อนเจ็บ
เรื่องราวเกี่ยวกับครอบครัวที่สมาชิกแต่ละคนก็กำลังประสบปัญหาของตัวเอง หัวหน้าครอบครัวอย่างพ่อที่เพิ่งตกงาน แม่ที่เบื่อหน่ายกับชีวิต ลูกชายคนโตที่หนีทหาร และน้องชายคนเล็กที่อยากเล่นเปียโนแต่เพราะที่บ้านกำลังประสบปัญหาทางการเงินทำให้ไม่สามารถเรียนได้ หนังญี่ปุ่นเงียบๆที่ข้อความในเรื่องตะโกนออกมาดังมากกว่าที่คิด ดูหนังฟรี
สำหรับเราหนังน่าเบื่อมาก เรายังไม่มีภูมิต้านทานพอสำหรับหนังแนวๆนี้ พูดให้ถูกคือเรายังไม่ชินกับหนังที่เอื่อยมากๆเพราะไม่สามารถโฟกัสได้ตลอดเวลา แต่ก็ต้องบอกเหมือนกันว่าประเด็นหลายๆอย่างในเรื่องนี้น่าสนใจมากและมันคงสิ่งที่ดึงความ
สนใจเรากลับมาเป็นระยะ ๆ ไม่งั้นเราคงดูเรื่องนี้ไม่จบไปแล้ว เรื่องนี้มันเงียบ ๆ เฉย ๆ เรื่อย ๆ นะ แต่ไม่รู้ทำไมถึงรู้สึกเศร้าและอึดอัดแปลก ๆ คือบางฉากมาเงียบมาก อย่างฉากที่มันมาแบบอยู่ดีๆก็ใส่มา ไม่ได้บิวด์อารมณ์ คือพอจะรู้แหละว่ามันมีโอกาสไปในทางเลือกนี้ได้แต่ไม่คิดว่ามันจะใส่เข้ามาเรื่อย ๆอย่างนี้ แต่จะว่าไปถ้าในชีวิตประจำวันเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นจริง ๆ เราก็คงจะรู้สึกเงียบ ๆ แบบนี้แหละ
ระหว่างดูเราก็ตั้งคำถามนะ คือสังคมเราไม่ได้เครียด กดดันและแข่งขันขนาดญี่ปุ่นแต่เราก็ยังรับรู้และรู้สึกได้อยู่ดี เราควรต้องทำอะไร เรามีหน้าที่ต้องทำอะไรและทำไปเพื่ออะไร ความหมายของชีวิต เป้าหมายและสิ่งต่าง ๆ เรื่องนี้บอกผ่านตัวละครในครอบครัวนะ แต่หลักๆก็โฟกัสไปที่ตัวพ่อและแม่นี่แหละ ที่ทำให้เราคิดจริง ๆ ว่าเออ เราทำไปเพื่ออะไรกันวะ
ซึ่งกลายเป็นว่าประเด็นในเรื่องเป็นอะไรที่ทำให้เราชอบมาก ถึงแม้ว่าทั้งเรื่องจะน่าเบื่อมาตลอดแต่พอเข้าช่วงท้ายช่วงไคลแมกซ์ที่เริ่มตั้งคำถามหนักๆก็ทำให้เราเอนจอยไปได้มากทีเดียว ทั้งความรู้สึกว่าแม่ง ทำไมต้องเป็นอย่างงี้วะ ทั้งอารมณ์อบอวลของหนังเราว่ามันเป็นอะไรที่เราชอบมาก
สรุปเรื่องนี้เป็นหนังดราม่าครอบครัวที่ดีอีกเรื่องนึง สะท้อนสังคมและปัญหาแต่ละบุคคลได้ดี แต่มีความน่าเบื่อในการดำเนินเรื่องสูง ใครไม่ชอบหนังแนวภาพเล่าไม่ควรดูเพราะน่านอนมาก แต่ก็ต้องชมประเด็นที่มันนำเสนอออกมาจริง ๆ นั่นแหละใครจะคิด ว่าคน 4 คนในครอบครัวเดียวกัน จะมีความแปลกแยกเกิดขึ้นมากมายขนาดนี้ มันจะมีจริงหรือไม่คงไม่สำคัญ แต่ถ้ามันเกิดขึ้นจริง มันก็คงเป็นโศกนาฎกรรมแห่งชีวิตอย่างที่เห็นในหนังนั่นแหละ
ผู้เป็นพ่อ ที่เข้าใกล้สู่วัยเลขห้าในอีกไม่กี่ปีต้องตกงาน เสาหลักทางการเงินของครอบครัวโงนเงน การหางานใหม่สำหรับคนวัยนี้ดูจะริบหรี่หนทาง แต่ทำยังไงได้ การยอมรับความจริงไม่ได้ที่จะต้องบอกความจริงแก่คนในครอบครัวนำมาซึ่งทางตันในที่สุด เขาเลือกที่จะไม่บอกใคร ออกจากบ้านในชุดทำงานปกติ กลับบ้านเวลาเดิม เหมือนกับชีวิตยังปกติ แต่ทุกวันเขายังคงตะลอนออกหางาน และกินข้าวฟรีตามโรงทานประทังหิว
เรื่องย่อ รีวิว Tokyo Sonata วันที่หัวใจซ่อนเจ็บ
ผู้เป็นแม่ คือ แม่บ้านผู้ดูแลงานบ้านสาระพัด และคอยดูแลสุขทุกข์ของครอบครัว อยากได้รถเป็นของตัวเองก็ได้แต่เก็บความอยากนั้นเอาไว้ แต่ขณะเดียวกัน ก็ใฝ่หาการเอาใจใส่ของสามีอยู่ไม่น้อย เธอคือผู้หญิง เพศผู้ละเอียดอ่อน เธอจะไม่เห็นสิ่งผิดปกติในตัวสามีเลยเชียวหรือลูกชายคนโต ที่กลับบ้านไม่ค่อยเป็นเวลา บุคคลที่ได้เขาไม่ค่อยได้เห็นหน้ากลับเป็นพ่อตัวเอง ขณะที่ผู้แม่กลับพบเห็นทุกคน แต่คนละเวลากัน จู่ ๆ วันหนึ่ง เขาก็มาขอให้พ่อแม่ช่วยเซ็นอนุญาตให้เขาไปเป็นทหารของอเมริกา ดูหนังฟรี
ส่วนลูกชายคนเล็ก ผู้มีอุปนิสัยค่อนข้างตรงไปตรงมา เป็นปริปักษ์กับอาจารย์คนหนึ่งในโรงเรียน แต่กลับพบว่าตนเองสนใจการเรียนเปียโน แม้พ่อจะยื่นคำขาดไม่อนุญาตให้เรียน แต่เขากลับเม้มเงินค่าอาหารกลางวันเพื่อไปเรียน แถมยังหยิบเอาคีย์บอร์ด
เก่าๆ ที่เสียแล้วจากกองขยะมาแอบฝึกฝนเสียด้วย พ่อตกงาน ลูกชายคนโตไปเป็นทหาร ลูกคนเล็กมีพรสวรรค์ทางดนตรี แม่เสียศูนย์เมื่อรู้ความจริงเข้าโดยบังเอิญหนึ่งในตัวอย่างของครอบครัวสมัยใหม่ สังคมที่แก่งแย่งแข่งขัน เศรษฐกิจที่ตกต่ำ ความตึงของ “หลายสิ่ง” ส่งผลต่อ “ทุกสิ่ง” ในบ้าน พ่อที่ไม่ยอมสูญเสียอำนาจการปกครองในบ้าน ถึงกับไม่ยอมบอกเรื่องการตกงานกับคนในครอบครัวตัวเอง
ยึดถือคำสั่งของตนขนาดไม่อ่อนข้อคืนคำ สังคมทุนนิยมที่ไม่เปิดให้คนได้หยุดพักหายใจ ทุกคนเฝ้าแต่คิดถึงวันพรุ่งนี้ ถ้าไม่มีเงิน ไม่มีงาน เราจะเอาอะไรกินกันครอบครัวที่กำลังมาถึงวันใกล้แตกสลาย ต่างคนต่างกระเจิง และ “เตลิด” ไปไกลขึ้นเรื่อย ๆ จนเราอาจมองไม่เห็นว่า มันจะลงเอยในสภาพเช่นใด
หนังให้แง่คิดดีๆ ของการใช้ชีวิต เมื่อวันที่ชีวิตเดินมาถึงจุดเปลี่ยน ความเจ็บปวดรวดร้าวที่บังเกิดจะหายไปได้ แสงสว่างเล็ก ๆ ที่เราเห็นไกล ๆ อยู่ ๆ พลันหายไป ความหวังหดหายไปด้วยหรือไม่ ถ้าแสงของวันใหม่มันยังมาถึงเราอีกครั้งได้ ชีวิตจะกลับมาสดใสได้อีกครั้งหรือไม่ ชอบที่แง่คิดไม่พอ หนังยังทำให้ผมชอบตรงที่ “การสื่อสาร” หนังไม่ได้พูดตรง ๆ ในบางเรื่อง แต่สื่อให้เรารู้สึกได้แม้ไม่ต้องพูดจา น้ำตาพลันเอ่ออีกครั้งเมื่อถึงประโยคนี้
จากภาพยนตร์เรื่องนี้พล็อตของหนังก็ง่ายมากๆ ซึ่งพูดถึงครอบครัวคนชั้นกลางของญี่ปุ่นครอบครัวหนึ่งในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุจาก พ่อ ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวโดนไล่ออกจากงาน จึงทำให้เป็นสาเหตุของเหตุการณ์ต่างๆ และเกิดปัญหาครอบครัวขึ้นโดยสมาชิกในครอบครัวนั้นต่างคนต่างความคิด ต่างความต้องการและปราศจากการพูดคุยและปรึกษาหารือกันภายในครอบครัว จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาทีหลัง
ซึ่งจากภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้เรียนรู้จากสิ่งต่างๆ เยอะเลย เพราะปัจจุบันครอบครัวซึ่งเป็นครอบครัวคนเมืองนั้นมีมากขึ้น ตามวิถีชีวิตคนเมืองนั้นเอง ที่พ่อนั้นทำหน้าที่เป็นหัวหน้าครอบครัวในการหาเงินเพื่อจุนเจือครอบครัว และวางอนาคตให้กับลูกๆ โดยมี
แม่ ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแม่เรือน หากับข้าว ทำอาหาร ดูแลสมาชิกของครอบครัวทุกคน แต่เมื่อพ่อซึ่งเป็นน้ำพักน้ำแรงของครอบครัว ตกงาน จึงเกิดปัญหาทางด้านการเงินขึ้น ซึ่งความเครียดก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตามมา แต่เมื่อบวกกับความที่ต้อง
ปิดปังครอบครัวเรื่องตกงาน ก็ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นไปอีก อีกทั้งความต้องการของลูกคนโตที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่แล้วอยากเข้ารับราชการทหารของกองทัพสหรัฐ ซึ่งคัดแย้งกับความต้องการของพ่อแม่ที่อยากให้ลูกอยู่ที่ญี่ปุ่น ไม่อยากให้ไปไหน ไกลๆ ด้วย
ความเป็นห่วงของพ่อแม่นั้นเอง ส่วนลูกคนเล็กที่เกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์ทางด้านดนตรี ที่มีความต้องการอยากเรียนทางด้านดนตรีนั้นคือ เปียโน นั้น คัดแย้งกับความต้องการของพ่ออีกที่มีปัญหาด้านการเงินและดูว่าการเล่นดนตรีเป็นเรื่องไร้สาระ อีกทั้ง
เหตุการณ์ต่างๆ ที่มีแม่เป็นตัวกลางในการให้ความช่วยเหลือและเป็นที่ปรึกษาของลูกๆ ดูครอบครัวของเธอเองด้วยความท้อแท้ใจ และปัญหาที่เกิดขึ้นจริงๆ กับครอบครัวนี้คือ การไม่พูดคุยและปรึกษาหารือกันในครอบครัวนั้นเอง เพราะถ้าสมาชิกทุกคนต่างคนต่างความคิด และมีความลับปกปิดกันภายในครอบครัวอีก ก็ยิ่งเกิดเรื่องแย่ๆ ขึ้นอีกมาก
ซึ่งสรุปแล้วนั้นได้รับรู้ถึงสภาพครอบครัว สังคม เศรษฐกิจและวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นอีกทั้งแนวความคิดของสมาชิกในครอบครัว อีกทั้งยังได้รับรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหาของครอบครัวของคนญี่ปุ่นเนื่องจากหัวหน้าครอบครัวโดนไล่ออกจากงาน และเกิดปัญหาต่างๆ ขึ้นทั้งในครอบครัวและสังคมของญี่ปุ่นในช่วงนั้นด้วย
ทฤษฎีสังคมของหนัง รีวิว Tokyo Sonata วันที่หัวใจซ่อนเจ็บ
ทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่เป็นผลมาจากการนำเอาแนวความคิดทางด้านชีววิทยามาใช้ โดยอุปมาว่า โครงสร้างของสังคมเป็นเสมือนร่างกายที่ประกอบไปด้วยเซลล์ต่าง ๆ และมองว่า หน้าที่ของสังคมก็คือ การทำหน้าที่ขออวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยแต่ละส่วนจะช่วยเหลือและเกื้อกูลซึ่งกัน รีวิวหนัง
และกันเพื่อให้ระบบทั้งระบบมีชีวิตดำรงอยู่ได้ โรเบิร์ต เค. เมอร์ตัน (Robert K. Merton) ได้จำแนกหน้าที่ทางสังคมเป็น 2 ประเภท คือ หน้าที่หลัก (Manifest) หน้าที่รอง (Latent) หน้าที่ที่ไม่พึงปรารถนา (Dysfunctional) หน้าที่ของบางโครงสร้างของสังคมอาจมีประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ แต่
ขณะเดียวกันคนบางส่วนอาจได้รับประโยชน์เพียงน้อยนิดหรืออาจไม่ได้รับประโยชน์เลย ซึ่งรวมไปถึงอาจจะมีคนบางกลุ่มหรือบางส่วนของสังคมได้รับผลเสียจากทำงานของโครงสร้างของสังคมนั้นก็ได้ อีมีล เดอร์ไคม์ (Emile Durkheim) มีแนวความคิดว่า หน้าที่ของสังคมคือ ส่วนที่สนับสนุนให้สังคมสามารถดำรงอยู่ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ เอ.อาร์ แรดคลิฟฟ์ บราวน์ (A.R. Radcliffe-Brown) กับ โบรนิสลอว์ มาลิโนว์สกี้ (Bronislaw Malinowski)
ที่มองว่า หน้าที่ทางสังคม เป็นส่วนสนับสนุนให้โครงสร้างสังคมคงอยู่อย่างต่อเนื่อง เพราะสังคมมีกระบวนการทางสังคมที่ทำให้สังคมเกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น บรรทัดฐาน ค่านิยม ความเชื่อ วัฒนธรรม และประเพณี เป็นต้นทาลคอทท์ พาร์สัน (Talcott Parsons) มีแนวความคิดว่า สังคมเป็นระบบหนึ่งที่มีส่วนต่าง ๆ (Part) มีความสัมพันธ์และสนับสนุนซึ่งกันและกัน ความสัมพันธ์ที่คงที่ของแต่ละส่วนจะเป็นปัจจัยทำให้ระบบสังคมเกิดความสมดุลย์ (Equiligrium)
ส่วนในด้านการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พาร์สันเสนอว่า เกิดจากความสมดุลย์ถูกทำลายลง เพราะองค์ประกอบของสังคมคือบุคลิกภาพ (Personality) อินทรีย์ (Organism) และวัฒนธรรม (Culture) เกิดความแตกร้าว โดยมีสาเหตุมาจากทั้งสาเหตุ ภายนอกระบบสังคม เช่น การเกิดสงคราม การแพร่กระจายของวัฒนธรรม เป็นต้น และสาเหตุจากภายในระบบสังคม ที่เกิดจากความตึงเครียด (Strain) เพราะความสัมพันธ์ของโครงสร้างบางหน่วย (Unit) หรือหลาย ๆ หน่วย ทำงานไม่ประสานกัน
เช่น การเปลี่ยนแปลงทางประชากร การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจะเป็นสาเหตุทำให้ส่วนอื่น ๆ มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจเกิดขึ้นเฉพาะส่วนใดหนึ่งหนึ่งหรืออาจเกิดขึ้นทั้งระบบก็
ได้ พาร์สันเน้นความสำคัญของ วัฒนธรรม ซึ่งรวมถึงความเชื่อ บรรทัดฐาน และค่านิยมของสังคม คือ ตัวยึดเหนี่ยวให้สังคมโดยสรุปแล้ว แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของกลุ่มทฤษฎีโครงสร้าง-หน้าที่ มีลักษณะดังนี้ – ในการศึกษาและวิเคราะห์สังคมต้องมองว่า สังคมทั้งหมดเป็นระบบหนึ่งที่แต่ละส่วนจะมีความสัมพันธ์ระหว่างกัน – ความสัมพันธ์คือสิ่งที่สนับสนุนซึ่งกันและกันอย่างเป็นเหตุเป็นผล – ระบบสังคมเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ความสมดุลย์ การปรับความสมดุลของระบบจะทำ
ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน ระบบตามไปด้วยความต่อเนื่องของกระบวนการของข่าวสารจากภายในและภายนอก นอกจากนี้ทฤษฎีระบบยังมองว่าความขัดแย้ง ความตึงเครียดและความไม่สงบสุขภายในสังคมก็เป็นสาเหตุหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่อย่างไรก็ตามทฤษฎีระบบก็มีข้อจำกัดในการศึกษาเปลี่ยนแปลงทางสังคม เนื่องจากในการวิเคราะห์ตามทฤษฎีระบบเป็นการศึกษาเฉพาะเรื่อง จึงทำให้ไม่สามารถศึกษาความสัมพันธ์กับระบบอื่นได้อย่างลึกซึ้ง