รีวิว The Prom (2020) เดอะพรอม
The Prom Netflix รีวิว หนังมิวสิคคอล งานพรอม ที่เต็มไปด้วยแสงสีเสียง ฉูดฉาด ตระการตา เอาใจคน LGBT โดยผู้กำกับ ไรอัน เมอร์ฟี่ ที่มีผลงานจาก Glee ตัวหนังเป็นการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกและความหลากหลายทางเพศ รวมถึงแฝงการจิกกัดสังคมอเมริกัน ใส่ความดราม่าปนตลกแบบมิวสิคคอล ซึ่งแทบจะเป็นลายเซ็นต์ของผู้กำกับรายนี้ไปแล้วแทบทุกเรื่อง และทำได้ดีในการเรียกร้องให้คนในครอบครัวหันมาพูดจากัน ดูหนังฟรี
เรื่องราวสุดวุ่นวายนี้เริ่มขึ้น เมื่อโรงเรียนมัธยมปลายแห่งหนึ่งในในอินเดียนนา ได้มีแผนที่จะสั่งยกเลิก “งานพรอม” ซึ่งถือว่าเป็นงานเลี้ยงส่งท้ายจบการศึกษาระดับไฮสคูลที่จะจัดกันในทุกโรงเรียนของสหรัฐ และถือว่าเป็นงานสำคัญครั้งสุดท้ายที่เหล่า
หนุ่มๆสาวๆจะได้โอกาสร่วมปาร์ตี้อย่างสุดเหวี่ยง พร้อมโชว์ความเริดหรูอลังการ นี่จึงเป็นงานที่นักเรียนไฮสคูลในสหรัฐทุกแห่งตั้งเป้าจะเฉดฉายให้ได้สักครั้ง แต่แล้วงานของโรงเรียนแห่งหนึ่งกลับถูกให้ยกเลิกโดยสมาคมครูและผู้ปกครอง เพราะสาเหตุจากการแอนตี้ เอ็มม่า สาวน้อยที่เปิดตัวว่าเป็นเลสเปี้ยนและจะพาแฟนสาวมาในงานพรอม
แต่ทางครูใหญ่ก็ไม่เห็นด้วย จึงทำให้ต้องมีการถกเถียงอีกครั้ง แล้วเรื่องก็กลายเป็นข่าวใหญ่ ในขณะเดียวกัน อดีตสตาร์ดังของวงการบอรดเวย์สี่คน ที่เป็นนักร้อง นักแสดง นักเต้น นักแต่งเพลง ที่เป็นพวกหลงตัวเองสุดขั้ว ก็ทราบข่าวเรื่องการยกเลิกงานพรอม พวกเขาจึงเห็นเป็นโอกาสที่จะพาพวกตนเองมาเป็นจุดสนใจอีกครั้ง รวมถึงพวกเขาต่างก็อยากมาช่วยเป็นกำลังใจให้เอ็มม่าเพื่อต่อสู้เรียกร้องสิทธิในฐานะคนหลากหลายทางเพศ และการวางกลยุทธ์เพื่อหาทางให้นำงานพรอมกลับมา
นี่คือหนังที่เป็นส่วนผสมของอะไรหลายอย่างเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหนังวัยรุ่น หนังรัก หนัง LGBT แต่ด้วยความที่หนังเป็นสไตล์มิวสิคคอลที่ต้องอาศัยความสามารถในการแสดงแบบเล่นใหญ่ในหลายฉาก จึงใช้นักแสดงรุ่นใหญ่มาเป็นเมนหลักในการเล่นบทมิวสิคคอลด้วย ซึ่งก็ถือว่าทำได้ดีมาก โดยเฉพาะ เมอร์รีล สตรีฟ และ เจมส์ คอร์เดน ที่จัดหนักจัดเต็มทั้งการร้องและการเต้น หรือแม้กระทั่ง นิโคล คิดแมน ที่ก็มาปล่อยของเอาในช่วงกลางเรื่องได้แบบเซอร์ไพร์สเหมือนกัน
ในส่วนของรุ่นเล็ก ต้องยอมรับว่าสองนักแสดงสาวอย่าง โจเอลเลน เอลแมน และ เอเรียอาน่า เดอโบส ก็ทำได้ดีกว่าที่คาดคิด โดยเฉพาะเคมีเวลาเข้าคู่กัน ที่ก็ทำให้ดูแล้วพอจะเชื่อได้ว่านี่คือคู่รัก LGBT แบบลับๆ ดังนั้นในแง่ของนักแสดง นี่คือจุดเด่นที่สุดของหนัง รวมถึงฉากมิวสิคคอลที่น่าจะจับใจชาว LGBT ไม่น้อย ทั้งฉาก แสงสีเสียง ไดอาล็อค และเนื้อหาในเพลงต่างๆ ที่ต้องการเรียกร้องสิทธิและการแสดงออกของชาว LGBT ในสังคมอเมริกัน ให้ได้รับการยอมรับมากขึ้น
แต่จุดด้อยที่ต้องยอมรับ ก็คือมันเป็นหนังกึ่งเพลงที่มีความเฉพาะกลุ่มมาก แม้ว่าตัวหนังจะมีความพยายามทำให้มันเป็น Mass เพื่อจับตลาดคนดูวงกว้าง ไม่ใช่แค่ LGBT ทั่วไป แต่ยังพยายามจับกลุ่มคนดูผิวสีด้วย แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หนังเรื่องนี้หลุดไปจากสไตล์ของหนังแนว LGBT ทั่วไปที่ก็ยังวนเวียนอยู่กับการเรียกร้องสิทธิในการแสดงออกของคนกลุ่มนี้ ซึ่งนี่ก็เป็นแนวของผู้กำกับ ไรอัน เมอร์ฟี่ ที่แทบจะเป็นลายเซ็นของผู้กำกับคนนี้ไปแล้วด้วย
เรื่องย่อ รีวิว The Prom (2020) เดอะพรอม
แล้วอีกจุดหนึ่งที่ อาจจะเป็นจุดด้อยสำหรับคนดูหลายคนคือบทของ เจมส์ คอร์เดน ที่เราจะพบเห็นบทลักษณะนี้ได้บ่อยมากในหนังที่มีกระเทยร่างใหญ่ในไทย ซึ่งบทก็ไม่ได้มีอะไรฉีกไปจากกระเทยร่างใหญ่ที่เราเห็นกัน แม้ว่าที่จริงการแสดงของเขาก็ไม่ได้แย่อะไร เพราะเขาทำได้ดีทั้งการร้องและเต้น เรียกว่าเป็นมาตรฐานพอสมควร แล้วบทของ นิโคล คิดแมน ที่ดูเสียของไปนิด คือไม่จำเป็นต้องใช้ดาราระดับนี้มาแสดงในบทนี้ก็ได้ แม้ว่าเธอจะได้โชว์ของบ้างในช่วงกลางเรื่อง
สำหรับในช่วงท้ายของหนังถือว่าทำได้ดีมาก แม้ว่าบทมันจะน้ำเน่าเกินไปหน่อยตามสูตรของหนัง แต่ก็ยังทำได้ดีเกินคาด นั่นคือบทความสัมพันธ์ของแม่ลูก ซึ่งเอาเข้าจริงดูเหมือนว่าส่วนนี้กลับทำได้น่าประทับใจยิ่งกว่าคู่รัก LGBT ในเรื่องซะอีก แล้วตัว ดูหนังใหม่
เรื่องก็ไม่ได้พยายามนำเสนอว่า คนที่แอนตี้หรือไม่เข้าใจคนหลากหลายทางเพศคือพวกหัวโบราณ แต่ทุกคนมีเหตุผลของตนเอง และเป็นเรื่องธรรมดาที่พ่อแม่ต่างก็ไม่อยากให้ลูกตนเองต้องเจอชีวิตที่ยากลำบาก หากลูกๆต้องเปิดเผยตัวเองออกมาต่อสังคม เรียกว่าบทแม่ลูกในช่วงท้ายแม้จะใช้เวลาค่อนข้างสั้น แต่กลับทำอารมณ์ได้ถึง และยังเป็นความพยายามบอกให้ทุกฝ่ายหันมาพูดจากัน อาจจะไม่ต้องเข้าใจกันทันที แต่ต้องคุยกัน แบบที่ตัวละครหลักทำกันไว้ในตอนจบของเรื่อง
สรุปแล้ว นี่เป็นหนังมิวสิคคอล หนังกึ่งเพลงของ Netflix ที่ทำมาเพื่อเรียกร้องสิทธิและการเปิดเผยตัวตนของชาว LGBT แม้จะเป็นหนังตามสูตร แต่ก็เป็นหนังดราม่าฟีลกู้ดที่มากไปกว่าแค่การเล่าเรื่องคู่รัก LGBT แต่พูดเรื่องความสัมพันธ์ครอบครัวได้น่าสนใจด้วย
ส่งท้ายปีกันอย่างจัดจ้านกันเลยทีเดียวสำหรับ หนัง Netflix เรื่องนี้ ขึ้นแท่นเป็น หนังแนะนำ จากหลาย ๆ รีวิว เพราะหนังเรื่อง The prom (2020) เป็นหนังเสียดสีสังคม ดราม่า และตลก เป็นส่วนผสมที่หลากหลายซึ่งผลที่ออกมาเลยกลายเป็นหนึ่งในหนัง LGBT ที่น่าดูที่สุดเรื่องหนึ่ง แถมยังมีเรื่องราวของประเด็นทางครอบครัวมาขัดเกลาให้เราซึมซับถึงปัญหาของสังคมทุกวันนี้ได้อย่างแนบเนียนอีกด้วย
เมื่อโรงเรียนมัธยมปลายแห่งหนึ่งได้มีแผนที่จะยกเลิก งานพรอม ซึ่งแน่นอนว่างานนี้เป็นงานที่สำคัญมากๆสำหรับเด็กนักเรียนมอปลายที่กำลังจะจบการศึกษา เป็นโอกาสที่พวกเขาจะได้ฉลองและมีงานปาร์ตี้ส่งท้ายสนุก ๆ แต่กลับกลายเป็นว่างานพรอมกำลังจะถูกยกเลิกจากสมาคมครูและผู้ปกครอง
เนื่องมาจากเด็กสาวคนหนึ่งที่จะพาแฟนสาวของเธอมาในงานพรอม จึงทำให้เกิดการถกเถียงเป็นประเด็นใหญ่ที่มากกว่าการถกเถียงเรื่องงานพรอม แต่เป็นการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางเพศให้กับพวกเขาอีกด้วยต้องบอกก่อนว่าคำโปรยและตัวอย่างต่างๆอาจจะดูเป็นหนังที่เฉพาะกลุ่มไปบ้าง แต่สำหรับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใครหลาย ๆ คนสามารถดูได้ เพราะถึงแม้จะเป็นเรื่องราวของการเรียกร้องเสรีภาพทางเพศก็ตาม
รีวิว The Prom (2020) เดอะพรอม
แต่ก็ไม่ได้มีความรู้สึกว่าตัวหนังนั้นยัดเยียดความรู้สึกว่าคนดูจะต้องยอมรับเสมอไป กลับสื่อออกมาได้อย่างเป็นกลางแต่ตรงไปตรงมา ได้เห็นอีกแก่มุมและช่องว่างระหว่างบริบทและช่วงวัย ซึ่งสื่อออกมาได้ดีมาก ๆ โดยเฉพาะกับในประเด็นเรื่องครอบครัวของความไม่เข้าใจกันระหว่างแม่ลูกในช่วงท้ายต้องถือว่าน่าชื่นชมมาก ๆ รีวิวหนัง
อีกสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้กลายเป็น หนังแนะนำ เลยก็คือ ตัวหนังได้รวบรวมอรรถรสความบันเทิงทางการดูหนัง เช่น รับรองว่าถ้าหากคุณได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว คุณจะรู้สึกสนุกและไม่ผิดหวังไปกับเสียงหัวเราะ ความเข้มข้นของดราม่า และแน่นอนว่าความอลังการของหนังมิวสิคคัลเรื่องนี้อย่างแน่นอน แถมยังมีดาราชื่อดังที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีอยู่หลายคนมารับบทในเรื่องนี้อีกด้วย
ถ้าหากคุณกำลังมองหาหนังดี ๆ แบบครบรสสักเรื่อง ขอแนะนำให้ดูเรื่อง The Prom หนังดีเน็ตฟลิกซ์ ที่คุณจะทำให้คุณได้รับประสบการณ์ดีๆจากการดูหนังไปอย่างแน่นอน คุณจะได้ทั้งสีสัน ความบันเทิง เรื่องราวซึ้ง ๆ ในขณะที่ตัวหนังก็เสียดสีจิกกัดสังคมได้อย่างแนบเนียน
จากละครเพลงบรอดเวย์โดย Matthew Sklar, Chad Beguelin และ Bob Martin (อดีตผู้อำนวยการสร้างที่นี่และอีกสองเรื่องหลังในบท) หลักฐานโดยรวมทำหน้าที่เป็นบทกวีของโลกดนตรีที่เต็มไปด้วยสีสัน คอเมดี้ – ซึ่งจะเป็นที่ต้อนรับสำหรับคนจำนวนมากที่ต้องเดินทางโดยไม่มีบรอดเวย์ในปีที่มี COVID-19 เต็มไปด้วยเสียงหัวเราะกว้าง ๆ บุคลิกที่ยิ่งใหญ่และมีศูนย์กลางอยู่ที่เรื่องราวอันน่าสะเทือนใจของเลสเบี้ยนมัธยมปลายเอ็มม่า (โจเอลเลนเพลแมนคนใหม่) ต่อสู้กับการปกครอง
แบบอนุรักษ์นิยมที่ไม่ยอมให้เธอพาแฟนสาวไปงานพรอมของโรงเรียน ถ้าคุณคิดว่ามันเป็นแนวคิดที่ผู้ชายที่อยู่เบื้องหลังการแสดงทุกคนดูเหมือนจะหยุดพูดถึงไม่ได้ – Ryan Murphy – จะกระโดดไปที่โอกาสที่จะนำมาสู่หน้าจอขนาดใหญ่จากนั้นก้าวเข้าสู่สปอตไลท์เพราะคุณใหญ่ ผู้ชนะ.
เกี่ยวกับ Ryan Murphy เป็นละครเพลงที่ Ryan Murphy สามารถเป็นได้ THE PROM เป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายหรือออนซ์จากนักแสดงด้วยดนตรีที่มีจำนวนมากและช่วงเวลาที่มีตัวละครที่ยิ่งใหญ่ไม่แพ้กันในขณะที่ประสบความสำเร็จอย่างรุนแรงในช่วง ช่วงเวลาที่ฟุ่มเฟือยน้อยลง เขารวมตัวกันเพื่อรับบทดาราบรอดเวย์ที่เอาแต่ใจตัวเองที่มุ่งหน้าไปยังเมืองอินเดียนาของเอ็มม่าเพื่อใช้ประโยชน์จากการย้ายฝ่ายประชาสัมพันธ์เพื่อร่วมงาน เรามีเมอรีลสตรีปเพียงคนเดียวในฐานะดีดีอัลเลน
ดาราบรอดเวย์ มี James Corden รับบทเป็น Barry Glickman ซึ่งไม่ได้เป็นดาราดังเท่า Allen แต่มีดราม่าและความหยิ่งยโส จากนั้นเราก็ได้นิโคลคิดแมนเป็นแองจี้ดิกคินสันนักร้องสาวที่ยังไม่ได้รับความก้าวหน้าครั้งใหญ่ของเธอและ; Andrew Rannells ผู้สำเร็จการศึกษาจาก Julliard (ถามเขาเกี่ยวกับเรื่องนี้) ซึ่งไม่สามารถลงจอดได้ไกลเกินกว่าด้านหลังของเคาน์เตอร์บาร์
นี่คือภาพยนตร์ที่เก้าครั้งในสิบครั้งคุณจะต้องพูดถึงตัวเลขมากกว่าเรื่องราวและการพิจารณาว่าเมอร์ฟีย์ไม่ได้พยายามมากนักที่จะทำให้มันเป็นไปในทางอื่นเขาทำให้มั่นใจได้ว่าเราจะเดินจากไปด้วยความรัก ทำให้ตาพร่าเหนือสิ่งอื่นใด จากรายการเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่อย่าง“ Changing Lives” ซึ่งเคลือบถนนสาย 42 ตั้งแต่หัวจรดเท้าด้วยความเย้ายวนใจและแสงไฟสว่างจ้าไปจนถึง Bob Fosse-esque“ It’s Not About Me” และ“ Zazz” เมอร์ฟีกำกับด้วยความรู้สึกของการแสดง และแสดงความ
เคารพต่อละครเพลงบรอดเวย์นำเสนอบางสิ่งที่เหมาะสมกับหน้าจอขนาดใหญ่ในขณะที่ยังคงมีความใกล้ชิดกับการผลิตละคร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง“ Zazz” พบว่า Kidman และ Pellman ถูกประดับประดาไปด้วยแสงไฟนีออนและสปอตไลท์เปลี่ยนห้องนั่งเล่นและบันไดหลังให้กลายเป็นเวที – ดนตรีแจ๊สสองตัวที่ส่งต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นคนจำนวนมากบนเวที