รีวิว Call Me By Your Name
หนังเองก็เหมือนจะจำโคว้ตนั้นไว้ขึ้นใจ จนวาดภาพและถ่ายทอดความท้วมท้นของประสบการณ์รักแรกธรรมดาออกมา อย่างให้คนดูแทบได้ “รู้สึก” ทุกอย่างรอบกายสองตัวละคร — แดดเปรี้ยงฤดูร้อน, แมลงวันที่คอยเกาะตอมตามมื้ออาหาร, ลมเย็นยามขี่จักรยานรอบเมือง, ความเย็นเยือกของแม่น้ำเมื่อกระโดดลงไป – ทั้งหมดตั้งอยู่ในเมืองทางตอนเหนือของอิตาลีอันงดงาม
เนื้อเรื่อง รีวิว Call Me By Your Name
ช่วงปี 1983 ที่เอลิโอ (ทิโมธี ชาลาเม็ต) เด็กหนุ่มลูกครึ่งวัยสิบเจ็ด พบกับ โอลิเวอร์ (อาร์มี่ แฮมเมอร์) นักเรียนมหาลัย ป.เอก ชาวอเมริกัน ที่มาอยู่บ้านตากอากาศของครอบครัวเอลิโอตลอดฤดูร้อน เพื่อช่วย พ่อของเอลิโอ (ไมเคิล สตูลบาร์ก) ผู้เป็นศาสตราจารย์ด้านโบราณคดี ทำงานวิจัย ดูหนัง
เรื่องย่อ รีวิว Call Me By Your Name
เป็นหนังที่คอหนังชาวไทยไม่น้อยตั้งหน้าตั้งตารอกันมาตั้งแต่ต้นปีเลย หลังจากชื่อของมันเริ่มถูกพูดถึงในฐานะหนึ่งในหนังที่ดีที่สุดของเทศกาลซันแดนซ์ประจำปีนี้ เรียกว่ากระแสนั้นมาแรงกว่า Dunkirk เสียอีก เพียงแต่ในแง่แมสแล้วมันยังไม่ไปถึงวงกว้าง แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือหนังเต็งออสการ์ที่ทางโซนี พิคเจอร์ส จับมือกับ เฮ้าส์ นำเข้ามาฉาย ซึ่งได้รับการจับตามองอย่าง
มาก โดยอีกหนึ่งไฮไลท์ในเรื่องนี้ก็คือ คุณสยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพคู่ใจ ที่เคยกำกับภาพให้หนังของ ‘เจ้ย’ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล มาแล้วหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น สุดสเน่หา, แสงศตวรรษ รวมทั้ง ผลงานมาสเตอร์พีชอย่าง ลุงบุญมีระลึกชาติ ที่เป็นเหมือนใบเบิกทางของเขาอย่างแท้จริงสำหรับ Call Me By Your Name นั้นเป็นหนังที่ดัดแปลงมาจากนิยายโรแมนติกของ อังเดร เอซิแมน ที่พูดถึงเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างเอลิโอ (ทิโมธี ชาลาเมต) เด็กหนุ่มวัย 17 เชื้อสายอเมริกันอิตาเลียน-ยิว กับ โอลิเวอร์ (อาร์มี่ แฮมเมอร์)
นักศึกษาหนุ่มชาวอเมริกันวัย 24 ปี ขณะมาช่วยงานคุณพ่อของเอลิโอ (ไมเคิล สตูห์ลบาร์ก) ช่วงปิดภาคฤดูร้อนในช่วงยุค 80 โดยเมื่อมาทำเป็นหนังในเวอร์ชันของผู้กำกับ ลูกา กัวดานิโน (The Big Splash, I Am Love) นั้นทาง เอซิแมน เองก็เข้ามาร่วมดัดแปลงบทหนังด้วยเช่นกันจุดแข็งของ Call Me By Your Name ก็คือเรื่องการเดินเรื่อง ซึ่งด้วยตัวพลอตเดิมนั้นไม่ได้มีเนื้อหาสลับซับซ้อนอะไรอยู่แล้วในแง่บริบท แต่หนังลงน้ำหนักเต็มที่กับการเล่าในมุมของการสำรวจ เอลิโอ ตั้งแต่ตัวตนเดิมที่เขาเป็น จนกระทั่งมาเจอกับ โอลิ ดูหนังออนไลน์
เวอร์ หนังปูแบ็คกราวน์ในด้านอ่อนโยนของเด็กหนุ่มที่ดูภายนอกเหมือนจะมีเสน่ห์ไปในเชิงเพลย์บอยหน่อย ๆ ด้วยซ้ำ แต่ความอ่อนโยนตรงนั้นแหละ ที่ถูกขยายออกจนประตูอีกบานเปิดออก ตัวตนอีกด้านหนึ่งของเขาเผยออกมา เจือปนกับความอยากรู้อยากเห็นและความสับสนในการค้นหาตัวเองในแบบฉบับหนัง coming of age
ตัวหนังเดินไปอย่างมีจังหวะเป็นธรรมชาติมาก เรื่อย ๆ เอื่อย ๆ สไตล์แบบ narrative และนี่ไม่ใช่หนังเกย์จ๋า แต่ออกจะไปทาง Bisexual ผมชอบที่ เอลิโอ ปลดปล่อยความปรารถนาออกมาแบบไม่มีเหตุผลมาเจือปน ซึ่งหนุ่ม ทีโมธี ถ่ายทอดออกมาได้ดี
มาก มันเป็นความรักแบบที่เราเคยรู้สึกได้สมัยเรียน วันที่ห้วงอารมณ์ของความรัก ความตื่นเต้น ปนเปรอไปกับความเศร้าและความกลัว ที่มันตีกันไปหมด มันไม่ใช่ความรักปรุงแต่งที่เป็นเหตุเป็นผลไปถึงหลังวันแต่งงาน แต่มันเป็นรักที่หากไปถามเอลิโอ ว่าทำไมถึงรักโอลิเวอร์ ปานจะแหกดากดมนัก เขาคงตอบได้แค่ว่า ‘ก็แค่รัก’ แค่นั้นจริง ๆ เพราะมันดิบมาก ซึ่งความสวยงามของหนังเรื่องนี้มันอยู่ที่ แววตาและความรู้สึกของ 2 คนนี้แหละ หนังทำให้เราได้ลุ้นว่า ‘เมื่อไหร่’ เอลิโอ และ โอลิเวอร์ จะ ‘คิดเหมือนกัน’ เสียที ดูหนัง 4k
Call Me By Your Name ใช้มุมกล้องที่ให้ความรู้สึกเหมือนหนังสมัยก่อน ยอมรับว่าชอบมู้ดแอนด์โทนของภาพบรรยากาศในหนังมาก มันกึ่ง ๆ จะพาเราไปทัศนศึกษาในมิลาน แต่เป็นมิลานที่อยู่ในนิยายฝัน ๆ อีกทีหนึ่ง สิ่งที่ชัดเจนที่คนดูได้เห็นจากหนังเรื่องนี้เลยก็คือ ความรักที่มาจากสัญชาตญาณของมนุษย์จริง ๆ ไม่มีค่านิยม มีแต่รสนิยมตรงหน้า เมื่อคุณเป็นเอลิโอ คุณจะเริ่มรักใครสักคน เปิดใจให้เขาเข้ามาในชีวิตเราจากนั้นเมื่อความสัมพันธ์เดินไป
ซึ่งนี่ก็คือนิยามรักทรงพลังและแสนจะคลาสสิกในแบบฉบับของ Call Me By Your Name โดยในช่วงท้ายของหนังนั้นก็แอบมีหักมุมเล็ก ๆ ซึ่งเป็นมุมที่มีแล้วเติมเต็มและอธิบายความรักให้ เอลิโอ ได้ดีที่สุด สิ่งที่น่าพิศวง และ คาดเดายากพอ ๆ กับความตายก็คือ ‘ความรัก’ นี่แหละ มันเป็นสิ่งที่ไม่ว่ามนุษย์คนนั้นจะอายุเท่าไหร่ จะเป็นผู้ใหญ่ผ่านร้อนหนาวมาแค่ไหน ก็ยังเป็นเพียง ‘เด็กน้อย’ ในเรื่องของความรักอยู่วันยันค่ำ ดูหนังออนไลน์ 4k
ส่วนตัวนั้นชอบองค์ประกอบของหนังมาก โดยเฉพาะคอสตูม และ การเซ็ตอัพฉากขึ้นมาในแต่ละซีน สามารถดึงความโดดเด่นเรื่องเทรนด์ในยุค 80 ออกมาได้คูลมาก ๆ แถมเก็บรายละเอียดทุกเม็ดสมราคาเต็งออสการ์ และ ถึงแม้ว่ามันอาจจะยากหน่อยที่เราจะได้เห็นหนังแนว LBGTQ คว้าออสการ์ 2 ปีติด
ในองค์แรก เคมีระหว่างชาลาเม็ตกับแฮมเมอร์โอบอุ้มหนังไว้มาก เพราะส่วนนี้ต้องถ่ายทอดเรื่องคนสองคนที่ต่างค่อยๆหยั่งเชิงจับตาความรู้สึกอีกฝ่ายอย่างใกล้เข้าหากันเรื่อยๆ ผ่านภาษาท่าทาง และ การลอบมอง ที่ค่อยๆสะสมในความเกิดน้อยสื่อมาก พร้อมทั้งมีดนตรี วรรณคดี และ โบราณวัตถุเป็นสิ่งรอบกายช่วยเชื่อมระหว่างสองคน มาเป็นตัวแทนจุดหมายความสัมพันธ์ได้ดี
ทั้งดนตรีในตอนเต้นกลางคืน ที่เอลิโอได้เห็นมุมปล่อยตัวของโอลิเวอร์เต็มๆ (พร้อมความอิจฉาที่เขาเองอาจจะไม่รู้ตัว) หรือ ตอนเอลิโอเล่นเปียโนขัดกับคำขอโอลิเวอร์ ที่ทั้งสองต่างหยั่งเชิงอีกฝ่ายอยู่ลึกๆ, วรรณคดีที่เมสเสจ “บอกไปหรือตายเสียดีกว่า” ของมันถูกเอลิโอใช้แทนความรู้สึกตัวเองก้าวถามแบบอ้อมๆ, ไปจนถึง โบราณวัตถุ ที่ซากรูปปั้นถูกใช้เป็นสัญญาณสงบ รีวิวหนัง
ศึก และ ที่การเดินล้อมห่างกันรอบอนุสาวรีย์ ถือเป็นฤกษ์ให้เผยความในใจสำคัญ รายละเอียดสิ่งละอันพันละน้อยทั้งในท่าทาง และ วัตถุ ทำให้ความดึงดูดเข้าหากันช้าๆของเอลิโอ และ โอลิเวอร์ มีความอ่อนโยนอ่อนไหว ชวนติดตาม และ ซึมซับในรายละเอียดได้อย่างเป็นธรรมชาติ จนเมื่อถึงจุดเปลี่ยนเข้าองค์สอง ทุกอย่างจึงพร้อมให้ความรู้สึกเร่งรัดสว่างไสวของรักแรกได้อย่างเต็มที่ ยามสองฝ่ายจูนเข้าหากันติดแล้วแต่สิ่งที่ทำให้สององค์แรกในเรื่องราวระหว่างเอลิโอกับโอลิเวอร์ ก้าวข้ามเป็น “รักแรกครั้งหนึ่งตราตรึงตลอดไป” นั้น คือการขมวดปมท้ายเรื่อง เกี่ยวกับตัวตนที่เปลี่ยนไปจากรักแรกนี้ ซึ่งหนังเล่าได้อย่างอ่อนโยนแต่ชวนใจสลาย ในความเศร้าละมุนแต่หนักแน่นอย่างผู้ใหญ่มากๆของมัน การเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรนี้ ถูกจับอยู่ในบทพูดยาวๆบทหนึ่งถึงเอลิโอท้ายเรื่อง