รีวิว Marriage Story
รีวิว Marriage Story เรื่องย่อ
คือภาพยนตร์เรื่องล่าสุดของ Noah Baumbach ผู้กำกับที่เคยสร้างเสียงหัวเราะ แบบขื่นๆ ให้กับเราผ่านชีวิตเฉาๆ ของหญิงสาวนักเต้นใน Frances Ha (2012) มาคราวนี้ Baumbach พาเราไปสำรวจฉากชีวิตหลังแต่งงานของคู่รักชวนฝัน ชาร์ลี (Adam Driver) ผู้กำกับละครเวทีดาวรุ่ง กับนิโคล (Scarlett Johansson) อดีตดาราหนังวัยรุ่นที่ผันตัวมาเป็นนักแสดงละครเวทีดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี
ชาร์ลีกับนิโคลพบรักกัน ในวานวันที่ทั้งคู่ยังเยาว์วัย ฝ่ายหญิงเพิ่งจะโด่งดัง ในวงการบันเทิงใหม่ๆ ส่วนฝ่ายชายยังเป็นเพียงผู้กำกับละครเวทีโนเนมที่ไม่มีผลงานดังๆ เป็นของตัวเอง ในวันที่ชีวิตของชาร์ลียังอุดอู้แออัดอยู่ในนิวยอร์ก แต่ชีวิตของนิโคลกลับกำลังไปได้สวยในลอสแอนเจลิส ทว่าด้วยไฟรักแผดเผาร้อนแรงของทั้งสองนิโคลตัดสินใจทิ้งอนาคต เลิกรับงานแสดง โยกย้ายสำมะโนครัวมาเริ่มต้นชีวิตใหม่กับชาร์ลีที่นิวยอร์ก ก่อนจะผันชีวิตมาสู่นักแสดงละครเวที นิโคลช่วยผลักดันคนรักอย่างเต็มที่กระทั่งในที่สุดเขาก็ได้ก้าวขึ้นเป็นผู้กำกับละครเวทีผู้โด่งดังสมใจรีวิวหนังรักดราม่า
แล้วชาร์ลีกับนิโคล ก็มีลูกด้วยกัน เฮนรี่ (Azhy Robertson) คือชื่อของเด็กน้อยผู้โชคดีคนนั้น เด็กน้อยที่เติบโตขึ้นท่ามกลางพ่อแม่ที่ให้ความรัก ความอบอุ่นกับเขาอย่างเต็มที่ ชาร์ลีนั้นใส่ใจในรายละเอียด รักการได้เป็นพ่อคน อีกทั้งไม่เคยบ่นเมื่อลูกมาปลุกให้ไปนอนด้วยยามดึกดื่น ส่วนนิโคลก็เป็นแม่ที่ห่วงใยความรู้สึก ทุ่มเวลากับเด็กน้อยอย่างเต็มที่ และรักที่จะตัดผมให้ลูกและสามีเมื่อเห็นว่ามันยาวเกินไป Marriage Story เริ่มต้นด้วยสารพัดเหตุผลว่า ทำไมเราถึงต้องรักสามีภรรยาคู่นี้ แต่แล้วภายในเวลาไม่ถึงแปดนาทีที่ตัวตนอันน่าหลงใหลของชาร์ลีกับนิโคลเบ่งบานในหัวใจคน ดูบอมบัคก็ได้ถีบเราออกจากภาพของครอบครัวอบอุ่นชวนฝัน ด้วยการเปิดเผยความจริงว่า เรื่องราวของนิโคลกับชาร์ลีที่เราเพิ่งได้รับรู้ไป แท้จริงแล้วถูกบอกเล่าผ่านกระบวนไกล่เกลี่ยก่อนการหย่าร้าง ที่พยายามจะให้คู่รักที่กำลังจะเลิกกันได้นึกถึงความทรงจำดีๆ ของอีกฝ่ายเมื่อแรกตกหลุมรัก–ใช่ชาร์ลีกับนิโคลกำลังจะหย่ากัน
Marriage Story คือภาพยนตร์ที่ว่าด้วยกระบวนการหย่าร้างซึ่งไม่มีอะไรสวยงาม มันเต็มไปด้วยความเจ็บปวด ความโกรธเกรี้ยว และหยดน้ำตาที่ร่วงหล่นซ้ำๆ ร้ายไปกว่านั้นคือ เมื่อการตัดสินใจจะเลิกราระหว่างชาร์ลีกับนิโคลไม่ได้สิ้นสุดลงที่ข้อตกลงของพวกเขา แต่กลายไปสู่การขึ้นโรงขึ้นศาล จากจุดเริ่มต้นของหนังที่เรียกร้องคนดูให้หลงรักตัวละครผ่านความทรงจำ ทว่าผ่านกระบวนการหย่าร้าง บอมบัคกลับค่อยๆ ลบล้างความทรงจำดีๆ ที่ทั้งสองเคยมีให้กัน Marriage Story เปิดเผยให้เราเห็นถึงด้านอัปลักษณ์ของอดีตคู่รัก ที่แม้ว่าลึกๆ แล้วทั้งคู่อาจยังห่วงใยกันอยู่ แต่ต่อหน้าทนายความและชั้นศาล ความนึกคิดด้านบวกของพวกเขากลับถูกทุบทำลายลงไป ภาพอดีตอันหอมหวานถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นสมรภูมิสงครามที่สามีภรรยาจะคอยขุดคุ้ยพฤติกรรมแย่ๆ ของอีกฝ่ายขึ้นมาอย่างมาดร้าย ยิ่งเมื่อชาร์ลีกับนิโคลต่างมีนิสัยเหมือนกันคือทั้งคู่เกลียดความแพ้พ่าย ยิ่งพอเป็นเกมของการหย่าร้างที่รางวัลของผู้ชนะคือสิทธิในการเลี้ยงดูลูกชาย ชาร์ลีกับนิโคลจึงงัดอุบายเพื่อหวังจะชนะอีกฝ่ายอย่างเต็มที่
รีวิว หลังดู
หากพูดถึงการหย่าร้าง โดยเฉพาะในบริบทสังคมตะวันตก อาจกล่าวได้ว่าคล้ายจะเป็นเรื่องปกติของ ‘ชีวิตครอบครัว’ ไปแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกปัจจุบันที่ทัศนคติต่อการหย่าร้างเป็นไปในแง่บวกมากขึ้น Anthony Giddens นักสังคมวิทยากล่าวถึงการหย่าร้างว่าเป็น “รูปแบบหนึ่งของกระบวนการ ‘ค้นพบตัวเอง’ ซึ่งคือเงื่อนไขที่สังคมสมัยใหม่คอยกดดันเรา” พูดอีกอย่างคือ ภายใต้สังคมสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับคุณค่าของปัจเจก ความหมายของการหย่าร้างได้แปรเปลี่ยนไปสู่ความเป็นอิสระ และการถือกำเนิดใหม่ของปัจเจกที่หลุดพ้นจากพันธนาการของชีวิตคู่ ความเก่งกาจอย่างหนึ่งของบอมบัคคือ แม้ประเด็นของหนังจะหนักหน่วงเพียงใด แต่เขาจะหยอดแสงสว่างเล็กๆ ไม่ให้สถานการณ์ที่ตัวละครกำลังเผชิญอยู่นั้นมืดมนเกินไปนัก กับ Marriage Story ก็เช่นกัน เพราะในขณะที่บอมบัคนำเสนอด้านที่ไร้หัวจิตหัวใจของกระบวนการหย่าร้าง หากเขาก็ไม่ลืมจะย้ำเตือนว่า หากมองให้ดีๆ การเลิกราก็มีแง่งามหลบซ่อนอยู่เหมือนกัน ประเด็นนี้สะท้อนให้เห็นอย่างน่าสนใจผ่านความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชาร์ลีกับนิโคลที่รับรู้ผ่านบทสนทนาอันเรียบง่าย แต่แยบคายและแหลมคม
ผ่านบทสนทนาสั้นๆ เราพอจะอนุมานได้ถึงรูปแบบ ความสัมพันธ์คร่าวๆ ของทั้งคู่ในวันที่ยังรักกันอยู่ ความพิลึกพิลั่นของบทสนทนานี้อยู่ที่ว่า ทำไมชาร์ลีที่มักจะใส่ใจรายละเอียดถึงเพิ่งจะสังเกตได้ว่าสีผมของภรรยาเปลี่ยนไป? ยิ่งกับคำพูดที่ว่า “…ผมชอบให้ยาวกว่านี้…” ก็ยิ่งจะเปิดเผยให้เห็นถึงตัวตน และลักษณะการใช้อำนาจของชาร์ลี นั่นคือเขาในฐานะผู้กำกับ และเขาในฐานะผู้ชาย ต่อบทบาทของผู้กำกับชาร์ลีคุ้นเคยอยู่แล้วกับการเป็น ‘ผู้สั่ง’ และ ‘ผู้กำหนด’ รายละเอียดต่างๆ ของละครเวทีแต่ละเรื่อง นั่นจึงทำให้เขามีสถานะเป็น ‘ผู้ตัดสินใจ’ การที่เขาออกความเห็นเรื่องทรงผมของนิโคลจึงเป็นการออกความเห็นในฐานะผู้กำกับ ทว่าอีกตัวตนหนึ่งที่ซ้อนทับชาร์ลีอยู่อีกชั้นหนึ่งคือ ‘ความเป็นผู้ชาย’ ที่มักจะมองนิโคลว่าต่ำกว่าเสมอ ซึ่งนิโคลเองก็รับรู้ถึงมันอยู่ตลอด
ในฐานะของอดีตนักแสดงดาวรุ่งที่ยอมทิ้งอนาคตเพื่อมาเป็นลมใต้ปีกให้กับคนรัก แม้เธอจะภูมิใจกับการได้เห็นว่าสามีประสบความสำเร็จในทางที่ฝัน แต่ตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกันนิโคลกลับไม่เคยรู้สึกเลยว่าชาร์ลีมองเห็นเธออยู่ในสายตา ไม่ว่าจะในฐานะนักแสดงละครเวทีในสังกัด ในฐานะแม่ของลูกชาย หรือในฐานะภรรยา แค่เพราะว่านิโคลเป็นผู้หญิง นั่นจึงเท่ากับว่า สถานะของเธอจะอยู่ต่ำกว่าชาร์ลีโดยทันที นิโคลไม่เพียงจะต้องเผชิญกับอำนาจของชาร์ลีในบทบาทของผู้กำกับเท่านั้น แต่ยังรวมถึงบทบาทของสามี ที่ไม่เคยจะรับรู้ หรือสนใจเลยด้วยซ้ำว่าภรรยาของเขาเหน็ดเหนื่อยและอ่อนล้ากับความสัมพันธ์นี้มากมายเพียงใด
สำหรับนิโคล การที่สามีเกิดสังเกตได้ว่าทรงผมของเธอเปลี่ยนแปลงไป ‘ในช่วงของการหย่าร้าง’ จึงเป็นเรื่องน่าขัน นั่นเพราะนิโคลรู้ดีว่า การที่อยู่ๆ ตัวตนของเธอก็ถูกรับรู้โดยสามีในครั้งนี้ไม่ได้มาจากการที่ชาร์ลียอมรับว่า เขากับภรรยามีสถานะเท่ากันหรอก แต่มันมาจากความหวาดกลัวของเขาต่างหาก เป็นความสิ้นหวัง และกังวลว่าจะสูญเสียสิทธิในการเลี้ยงดูลูกไปต่างหากที่เป็นสาเหตุให้ชาร์ลีสร้างบทสนทนาลอยๆ นี้ขึ้นด้วยหวังว่ามันจะช่วยเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างเขากับนิโคล
อาจเรียกได้ว่า Marriage Story คือหนังที่ว่าด้วย ‘การล่มสลายของความเป็นชาย’ ความเป็นชายที่ไม่ได้หมายถึงเพศชาย แต่คืออุดมการณ์ความเป็นชายที่มองผู้หญิงว่ามีสถานะที่ต่ำกว่า และคอยแต่จะตัดสินว่าผู้หญิงคืออารมณ์ ส่วนผู้ชายเท่านั้นคือเหตุผล บอมบัคได้ล้มล้างมายาคตินี้อย่างถอนรากถอนโคน และชี้ให้เห็นว่าความหมกมุ่นที่คอยแต่จะสร้างคู่ตรงข้ามระหว่างผู้ชายกับผู้หญิงเช่นนี้ไม่เคยจะเกิดประโยชน์อะไร อารมณ์กับเหตุผลไม่เคยจะผูกขาดอยู่แค่กับเพศภาวะใด และอำนาจของเพศชายก็ไม่ได้หมายความถึงชัยชนะไปเสียทุกครั้ง
เมื่อโครงสร้างของ Marriage Story ขับเคลื่อนไปบนตรรกะการ แพ้–ชนะ ของกระบวนการหย่าร้าง อำนาจทางเพศจึงยิ่งสะท้อน ให้เห็นชัดผ่านความหมกมุ่นของตัวละครที่ ต้องการจะเอาชนะอีกฝ่ายเสมอมา ในอดีต การหย่าร้างไม่เคยจะสร้างข้อจำกัด กับผู้ชาย เท่ากับที่มันสร้างภาระให้กับผู้หญิง หากลองพิจารณาวาทกรรมที่บอกว่า ผู้หญิงที่ดีคือผู้หญิงบริสุทธิ์ และบ้านคือพื้นที่ของผู้หญิง ในบริบทของการหย่าร้าง จะเห็นว่าการทำงานของวาทกรรมเหล่านี้ไม่เพียงจะจำกัดผู้หญิงจากความเป็นอิสระ และคอยแต่จะจำกัดว่าผู้หญิงต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ชายที่แต่งงานด้วย
แต่ Marriage Story แสดงให้เห็นว่านิโคลนั้น ได้หลุดพ้นจากวาทกรรมเหล่านี้ไปแล้ว เพราะไม่เพียงแต่การหย่าร้างกับสามีจะส่งผลให้เธอคล่องตัวกับชีวิตขึ้นเท่านั้น แต่นิโคลยังมีความสามารถที่จะเลี้ยงดูเฮนรี่ได้อย่างเต็มกำลังโดยไม่จำเป็นต้องพึ่งความช่วยเหลือจากชาร์ลี
ประโยคที่ทนายฝั่งนิโคล พูดขึ้นในฉากหนึ่งว่า “แปลว่ามันเป็นข้อตกลงเมื่อมันเป็น สิ่งที่คุณต้องการ และ เป็นการคุยกันเมื่อเป็นสิ่งที่นิโคลต้องการเหรอ” จึงสรุปปัญหาของความขัดแย้งระหว่างนิโคลกับชาร์ลีที่วางอยู่บนฐานของความสัมพันธ์เชิงอำนาจได้อย่างชัดเจน เพราะเสียงชาร์ลีนั้นดังเกินไป คอยแต่จะกดเสียงของนิโคลไว้จนไม่เคยถูกรับรู้และได้ยิน ทว่าเสียงอันเงียบเชียบนี้ไม่เคยจะสูญสลายไป มันสะสมความอัดอั้นไว้ ค่อยๆ เติบใหญ่ กระทั่งวันหนึ่งก็ปะทุขึ้นมา ในอดีต ไม่เคยเลยที่เสียงของนิโคลจะมีคุณค่า หากในวันนี้เสียงของเธอกลับดังเกินกว่าที่ชาร์ลีจะต้านทานได้ เป็นเสียงของอดีตภรรยาที่กำหนดความเป็นไป ไม่ใช่เสียงของอดีตสามีอีกแล้ว
สรุป
เอาจริง ๆ หนังก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับคอตรูมดราม่าหรือการต่อสู้ในชั้นศาลเหมือนหนังครอบครัวรักร้างเรื่องอื่นหรอก เพราะมันไปเน้น อารมณ์ ความรู้สึกของแต่ละฝ่ายมากกว่า อย่างฝ่ายนิโคลเอง นางก็พยายามจะไกล่เกลี่ย แต่อยู่ดี ๆ เอเจนต์นางก็แนะนำทางออกแบบเซฟตี้คัตด้วยการโยน นอรา เข้ามาในสมการความสัมพันธ์ที่กำลังหมดลงครั้งนี้จนจากที่เคยต้องการให้ชาร์ลีย้ายมาอยู่ลอส แองเจลลิส เพื่อให้แบ่งเวลาดูแลเฮนรี กลายเป็นการฟ้องร้องเรียกค่าเลี้ยงดู ที่นางก็ไม่ต้องการแต่จำยอมให้ทนายดำเนินการตัดสัมพันธ์และขูดทรัพย์สินอีกฝ่ายเพื่อหวังเดินออกจากความสัมพันธ์และชีวิตที่เคยถูกครอบงำได้เร็วขึ้น ส่วนตาชาร์ลี นี่ไม่รู้จะน่าสงสารดีหรือเปล่า เพราะนางเองก็มีชนักติดหลังเคยแอบกินเพื่อนร่วมงานจนกลายเป็นช่องให้ นอรา ใช้โจมตีได้ แต่แทนที่เราจะเกลียดนาง ในหนังเรากลับเห็นนางพยายามเดินทางจากนิวยอร์กมาใช้เวลาอยู่กับลูก แถมพยายามเอาใจลูกให้ดีที่สุด ในขณะที่ก็ต้องบินกลับนิวยอร์กเพื่อหาเงินมาใช้สู้คดี แถมหลายโมเมนต์เรายังเห็นทั้งคู่ดูมีเยื่อใยให้กันอยู่ และ พยายามประคับประคองชีวิตครอบครัวให้ เฮนรี ไม่รู้สึกขาดพ่อหรือแม่ไป แต่ที่ยากที่สุดก็เรื่องตัดใจให้ไม่รักนี่แหละ โคตรยากเลย
ชื่อภาพยนตร์: Marriage Story / แมริเอจ สตอรี่
ผู้กำกับภาพยนตร์: Noah Baumbach
ผู้เขียนบทภาพยนตร์: Noah Baumbach
นักแสดงนำ: Adam Driver, Scarlett Johansson, Julia Greer, Azhy Robertson
ความยาว: 136 นาที
ปี: 2019
แนว/ประเภท: Drama, Romance
อัตราส่วนภาพ: 1.66 : 1
เรท: ไทย/, MPAA/R
วันที่เข้าฉายในประเทศไทย:
สตูดิโอ/ผู้สร้าง/ผู้จัดจำหน่าย: Heyday Films, Netflix